กรอ. หรือ กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต เป็นอีกหนึ่งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่หลายคนอาจคุ้นชื่อ และอาจสงสัยว่ากองทุนนี้ต่างกันกับกยศ. อย่างไร ก็ต้องบอกว่าปัจจุบันกรอ. นั้นดำเนินกิจการร่วมกันกับกยศ. แล้วตั้งแต่ปี 2560 ตามประกาศ พรบ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ฉะนั้นผู้กู้รายใหม่ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาจึงจะได้กู้กับกองทุนกยศ. แทน
ทั้งนี้มาดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันครับ
กรอ. คืออะไร
กรอ. กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้อนาคต มีมติจัดตั้งขึ้นในปี 2547 ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยกองทุนนี้มีบทบาทในการมอบเงินกู้ยืมให้กับนักศึกษา โดยเริ่มมอบเงินกู้ยืมตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 สำหรับนักศึกษาระดับ ปวส. อนุปริญญา และปริญญาตรี
ทั้งนี้เนื่องจากกองทุน กรอ. นั้นค่อนข้างมีความทับซ้อนกันกับกองทุน กยศ. ในช่วงปีการศึกษา 2550 – 2560 ได้มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทกองทุนกรอ. หลายครั้ง สามารถอ่านรายละเอียดเต็ม ๆ ได้ที่นี่ จนในที่สุดจึงได้ควบรวมเหลือเพียงแต่กองทุนกยศ. อย่างเดียว
ทั้งนี้กองทุน กรอ. และ กยศ. ก็อาจจะไม่ได้มีข้อแตกต่างกันมากนักจากข้อมูลอัพเดทล่าสุด ลองดูข้อเปรียบเทียบกันได้จากตารางด้านล่างนี้
ความแตกต่างระหว่าง กรอ. และ กยศ.
อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี
วงเงินครอบคลุม ค่าเล่าเรียน, ค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่อง, ค่าครองชีพ 2,400 บาทต่อเดือน
ระดับ ปวส. อนุปริญญา ปริญญาตรี กู้ได้ทุกสาขาวิชา
ปริญญาโท เฉพาะบางสาขาวิชา
อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี
วงเงินครอบคลุม ค่าเล่าเรียน, ค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่อง, ค่าครองชีพ 2,200 บาทต่อเดือน
ปวส. กู้ได้ทุกสาขาวิชา
ปริญญาตรี เฉพาะบางสาขาวิชา
เฉพาะผู้กู้ในปี 2555 – 2560 เมื่อมีรายได้ 16,000 บาทต่อเดือนหรือ 192,000 บาทต่อปี
จะเห็นได้ว่าทั้ง กยศ. และกรอ. ต่างก็ถือว่าเป็นกองทุนที่เมื่อเปรียบเทียบกับสินเชื่อเพื่อการศึกษาจากเจ้าอื่น ๆ แล้วก็มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า และมีระยะเวลาปลอดภาษีให้กับผู้กู้ ซึ่งถึงแม้ในตอนนี้จะไม่มีกองทุน กรอ. แล้ว ผู้สนใจกู้ยืมเรียนยังสามารถกู้ยืมเงินผ่านกองทุน กยศ. ได้เหมือนเดิม สำหรับปีการศึกษาที่จะถึงนี้ 2566 สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ และเริ่มกู้ยืมได้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป
สนใจข้อมูลเกี่ยวกับ กู้เงินเรียนอื่น ๆ คลิก