You are currently viewing 9 เงินฝากประจำ เดือนละ 5,000 บาท รับดอกเบี้ยสูง ปี 2023

แนะนำบัญชีเงินฝากประจำ สำหรับคนที่มีเป้าหมายฝากประจำเดือนละ 5,000 บาท ตั้งแต่ 3/6/9/12 เดือน หรือมากกว่า สำหรับในลิสต์นี้จะเป็นเงินฝากประจำทั่วไป ไม่ใช่เงินฝากประจำแบบปลอดภาษี ที่น่าสนใจในปี 2023 นี้

9 บัญชีเงินฝากประจำ ดอกเบี้ยสูง ปี 2023

มาแรง
1
kept

Grow Savings จาก Kept by กรุงศรี

มีอะไรน่าสนใจ:
ฝากเริ่มต้น ไม่กำหนด แบ่งเก็บอัตโนมัติ ขั้นต่ำ 5,000 บาทต่อเดือน
ดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี
ฝากออมทรัพย์ ดอกเบี้ย 1.5% นาน 2 ปี (มีฟังค์ชั่นแบ่งเก็บเงินก้อนอัตโนมัติจากบัญชีหลัก คล้ายฝากประจำ)
คุณสมบัติผู้ฝาก สัญชาติไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม +
2
ธนาคารไทยเครดิต

บัญชีเงินฝากประจำ ประเภทสมุดคู่เงินฝาก จาก ธนาคารไทยเครดิต

มีอะไรน่าสนใจ:
ฝากเริ่มต้น 1,000 บาท
ดอกเบี้ย 0.95% – 2% ต่อปี
ฝากประจำ 3 – 36 เดือน
คุณสมบัติผู้ฝาก สัญชาติไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป
ถอนก่อนครบกำหนดการฝาก ก่อนระยะเวลา 3 เดือน ไม่ได้รับดอกเบี้ย
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม +
3
uob

ฝากประจำ ธนาคารยูโอบี

มีอะไรน่าสนใจ:
ฝากเริ่มต้น 5,000 บาท
ดอกเบี้ย 0.10% – 1.5% ต่อปี
ฝากประจำ 3 – 60 เดือน
คุณสมบัติผู้ฝาก สัญชาติไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม +
4
SCB

บัญชีเงินฝากระยะยาว ปลอดภาษี จาก SCB

มีอะไรน่าสนใจ:
ฝากเริ่มต้น 500 บาท
ดอกเบี้ย 1.35% – 1.6% ต่อปี
ฝากประจำ 24 – 36 เดือน
คุณสมบัติผู้ฝาก สัญชาติไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม +
5
tmrw

บัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง TMRW Savings

มีอะไรน่าสนใจ:
ฝากเริ่มต้น 1,000 บาท
ดอกเบี้ย 1.3% ต่อปีสำหรับ 1,000,000 บาทแรก
ฝากออมทรัพย์
คุณสมบัติผู้ฝาก สัญชาติไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป
6
lh bank

บัญชีเงินฝากประจำดอกเบี้ยสูง ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์

มีอะไรน่าสนใจ:
ฝากเริ่มต้น 1,000 บาท
ดอกเบี้ย 0.80% – 1.1% ต่อปี
ฝากประจำ 3 – 24 เดือน
คุณสมบัติผู้ฝาก สัญชาติไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม +
7
icbc

ฝากประจำทั่วไป ธนาคารไอซีบีซีไทย

มีอะไรน่าสนใจ:
ฝากเริ่มต้น 1,000 บาท
ดอกเบี้ย 0.20% – 1.05% ต่อปี
ฝากประจำ 3 – 36 เดือน
คุณสมบัติผู้ฝาก สัญชาติไทย อายุ 7 ปีขึ้นไป
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม +
8
ธนาคารกรุงศรี

บัญชีเงินฝากประจำทั่วไป ธนาคารกรุงศรี

มีอะไรน่าสนใจ:
ฝากเริ่มต้น 1,000 บาท
ดอกเบี้ย 0.10% – 0.75% ต่อปี
ฝากประจำ 3 – 48 เดือน
คุณสมบัติผู้ฝาก สัญชาติไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม +
9
cimb thai

ฝากประจำทั่วไป ธนาคารซีไอเอ็มบี

มีอะไรน่าสนใจ:
ฝากเริ่มต้น 1,000 บาท
ดอกเบี้ย 0.2% – 0.6% ต่อปี
ฝากประจำ 3 – 36 เดือน
คุณสมบัติผู้ฝาก สัญชาติไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม +

[snippet]

เงินฝากประจำส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ 1,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ซึ่งหากคุณตัดสินใจฝากแล้ว ต้องฝากเป็นจำนวนเท่ากันทุกเดือน หรือบางบัญชีจะสามารถทบเพิ่มเงินฝากประจำได้ เช่น ฝาก 1,000 ติดต่อกัน 3 เดือน แล้วเดือนถัด ๆ ไป ฝาก 1,500 บาท เท่ากัน หรือ 5,000 บาทเท่ากัน จะไม่สามารถฝากน้อยลงได้

[/snippet]

เป็นบัญชีที่ช่วยสร้างวินัยในการเก็บออมเงินได้ดีอย่างมาก เพราะถ้าหากคุณถอนเงินหรือเลิกฝากประจำเมื่อไหร่ อัตราดอกเบี้ยก็จะไม่ได้รับตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยขั้นต่ำในการฝากประจำ คือ 3 เดือนขึ้นไป

ฝากประจำทั่วไป หรือ ฝากประจำแบบปลอดภาษี

ข้อแตกต่างคือฝากประจำแบบปลอดภาษีจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่า แต่หนึ่งคนจะสามารถเปิดได้เพียง 1 บัญชีเท่านั้นรวมทุกธนาคาร ซึ่งจะต้องฝากประจำเท่ากันตามเงื่อนไขที่กำหนด และต้องฝากเริ่มต้นนาน 24 เดือนขึ้นไป

ส่วนฝากประจำทั่วไป สามารถเปิดได้หลายบัญชี ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย ยืดหยุ่น และฝากระยะสั้นที่เริ่มต้นตั้งแต่ 3 เดือนได้ ถ้ามีการถอนเงินฉุกเฉินก่อนหน้าที่จะถึง 3 เดือน จะไม่ได้รับดอกเบี้ยเลย

ฝากประจำ 5,000 บาทต่อเดือน 1 ปี จะมีเงินเท่าไหร่

หากคุณฝากประจำ 1 ปี ที่อัตราดอกเบี้ยฝากประจำ 1% จะมีเงินเก็บ 60,600 บาท เป็นเงินฝาก 60,000 และดอกเบี้ย 600 บาท

ดอกเบี้ยที่ได้อาจจะไม่เยอะมาก แต่คุณจะมีเงินเก็บเพื่อเอาไว้ใช้ทำอย่างอื่นเยอะพอสมควร ที่ฝากประจำ 36 เดือน เดือนละ 5,000 บาทคุณจะมีเงินเก็บแล้วถึง 180,000 บาท ซึ่งพอใช้สำหรับดาวน์รถ ดาวน์บ้าน หรือลงทุนทำธุรกิจได้เลย

สามารถดูข้อมูลเงินต้นและดอกเบี้ยเงินฝากที่จะได้จากตารางข้างล่างนี้

ฝากประจำเงินต้นดอกเบี้ย 0.5%ดอกเบี้ย 1.0%ดอกเบี้ย 1.5%ดอกเบี้ยรวมเงินต้น 0.5%ดอกเบี้ยรวมเงินต้น 1.0%ดอกเบี้ยรวมเงินต้น 1.5%
1 เดือน5,0000005,0005,0005,000
3 เดือน15,00024507415,02415,05015,074
6 เดือน30,0007515022530,07530,15030,225
9 เดือน45,00016733850645,16745,33845,506
12 เดือน60,00030060090060,30060,60060,900
24 เดือน120,0001,2002,4003,600121,200122,400123,600
36 เดือน180,0002,7005,4008,100182,700185,400188,100
ตารางแสดงดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 5,000 บาท ตั้งแต่ระยะเวลา 1 – 36 เดือนในอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน
ฝากประจำดีไหม?
ฝากประจำเป็นตัวเลือกในการออมเงินที่ช่วยสร้างวินัยทางการเงินได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยเมื่อเทียบกับเงินเฟ้อรายปี อาจไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน แต่เป็นตัวเลือกในการเก็บเงินและออมเงินในระยะยาวที่ถือว่าปลอดภัยที่สุด เพราะจะไม่สูญเสียเงินต้น ในขณะที่การลงทุนรูปแบบอื่นมีโอกาสสูญเสียเงินต้นได้ เสี่ยงน้อยก็ได้น้อย เสี่ยงมากก็ได้มาก และเสียมากไปด้วยเช่นกัน หากคุณจะเริ่มฝากประจำแค่บัญชีเดียว เริ่มที่บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษีจะได้ดอกเบี้ยสูงที่สุด ของแต่ละธนาคาร แต่ต้องฝากต่อเนื่อง 24 เดือนขึ้นไป
ฝากประจำรายวันดีไหม
ฝากประจำรายวันเป็นทางเลือกสำหรับคนที่อยากได้ดอกเบี้ยทุกวัน แต่อัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นทุกวัน เมื่อเทียบกันในรายปีแล้วจะได้น้อยกว่าบัญชีเงินฝากประจำรายเดือน
ใช้หลักฐานอะไรในการเปิดบัญชีเงินฝากประจำบ้าง
ใช้เพียงบัตรประชาชน และเงินฝากขั้นต่ำ ตามจำนวนที่เราต้องการฝากในแต่ละเดือน เริ่มต้นที่ 1,000 บาท
ถอนเงินก่อนเวลาที่กำหนดจะเกิดอะไรขึ้น
ส่วนใหญ่แล้วในกรณีที่ถอนเงินก่อนเวลาที่กำหนด คุณจะเสียโอกาสที่จะได้ดอกเบี้ยไป หรือได้ดอกเบี้ยในอัตราที่น้อยมาก ๆ
ฝากประจํา เสียภาษีเท่าไหร่
เงินฝากประจำทั่วไป เสียภาษี 15% ของดอกเบี้ยที่คุณได้รับ ส่วนบัญชีเงินฝากปลอดภาษีไม่เสียดอกเบี้ย แต่เปิดได้แค่บัญชีเดียว รวมทุกธนาคาร
อัตราดอกเบี้ยมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดทุกเดือน ทั้งนี้ก่อนทำการฝากเงินต้องเช็คกับทางธนาคารก่อน โดยสามารถดูข้อมูลอัพเดทได้ที่เว็บไซต์ของธนาคารนั้น ๆ อัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงจะมีผลเฉพาะกับบัญชีที่เปิดใหม่ หากคุณมีบัญชีอยู่แล้ว ไม่มีผล

การเงินแบบชาวบ้าน

FinanceChaoBan.com เคล็ดลับการเงินสำหรับชาวบ้าน บุคคลทั่วไป ทุกเพศทุกวัย ครบทั้งการ ฝากเงิน ยืมเงิน ออมเงิน กู้เงินด่วน เงินด่วน 30 นาที สมัครบัตรเครดิต และอื่น ๆ อีกมากมาย พวกเรามีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะนำเสนอข้อมูลการเงินต่าง ๆ ให้เข้าใจง่ายที่สุดสำหรับชาวบ้าน เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลทางการเงินได้ง่าย นำเสนอข้อมูลมากที่สุด เพื่อให้ไม่โดนเอาเปรียบ หรือถูกหลอก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรา คลิก ติดตามเราได้ที่ Facebook หรือ Blockdit
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments