You are currently viewing ร้านค้าเล็ก ๆ อยากกู้เงินมาใช้เพื่อการค้าขาย วางแผนยังไงบ้าง

แม้ตอนนี้จะต้องเจอกับวิกฤติโรคระบาดและพิษเศรษฐกิจ แต่หลายคนก็ยังมีความฝันที่จะเป็นเจ้าของกิจการ กับการมีร้านค้าเล็ก ๆ เป็นของตัวเอง แน่นอนว่าไม่ง่ายเลยที่จะต้องเจียดเงินมาลงทุนในช่วงเวลาที่สุ่มเสี่ยงแบบนี้ ดังนั้นการกู้เงินมาค้าขายจึงเป็นทางออกที่จะช่วยคุณก็จริง แต่ก่อนที่จะกู้เงิน เราควรวางแผนอย่างรอบคอบกันก่อน โดยเรามีเคล็ดลับดี ๆ มาฝากกัน

สินเชื่อแบบไหนเหมาะสำหรับกู้เงินมาค้าขาย

สำหรับคนที่อยากจะมีร้านค้าเล็ก ๆ มีความต้องการที่จะใช้เงินก้อนเพื่อเริ่มธุรกิจหรือขยายกิจการนั้น แน่นอนว่าไม่ใช่เงินจำนวนน้อย ๆ ซึ่งสินเชื่อที่เหมาะสำหรับการกู้เงินมาค้าขายก็คือ สินเชื่อ SME (Small and Medium Enterprises) เป็นสินเชื่อที่เปิดโอกาสให้เจ้าของธุรกิจเอกชนขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่อยากได้เงินลงทุนสักก้อน ควรจะต้องเตรียมตัววางแผนเพื่อขอสินเชื่อกู้เงินมาค้าขาย

เทคนิคเตรียมความพร้อมก่อนกู้เงินมาค้าขายให้ผ่านง่าย ๆ

เดินบัญชีอย่างสม่ำเสมอ

สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณกู้เงินมาค้าขายแล้วได้รับอนุมัติแบบง่าย ๆ จะต้องเดินบัญชีอยู่เสมอ เมื่อมีรายได้เข้ามา ก็ควรเอาเข้าไปฝากไว้ในบัญชีทันทีหรืออาจให้ลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชีโดยตรงก็ได้ ส่วนการถอนเงินก็สามารถทำได้ตามปกติ แต่ต้องไม่ถอนหมดบัญชี โดยเน้นความสม่ำเสมอ ซึ่งการทำแบบนี้ ธนาคารจะเห็นว่าคุณมีวินัยและบริหารการเงินได้ดี

มีเครดิตทางการเงินที่ดี

การสร้างเครดิตทางการเงินก็เปรียบเสมือนเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคุณเอง คุณจะดูน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยเฉพาะหากคุณคิดจะกู้เงินมาค้าขายด้วยแล้ว ความน่าเชื่อถือตรงนี้สำคัญมาก หากประวัติของคุณดี จ่ายหนี้ครบ ตรงเวลา ไม่มีประวัติติดเครดิตบูโร แน่นอนว่าหากธนาคารตรวจพบ คุณเสียประวัติและมีแนวโน้มที่จะกู้เงินไม่สำเร็จอีกด้วย

ควรมีเงินสำรองในบัญชี

ไม่ใช่ว่าพอคุณเลือกที่จะกู้เงินมาค้าขาย แล้วคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีเงินสำรองก็ได้ ในเมื่อไม่มีก็เลยต้องไปกู้ บอกเลยว่าความคิดเช่นนี้อันตรายมาก ๆ เพราะการมีเงินสำรองในบัญชีมาก ๆ จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณ นั่นจะแสดงให้เห็นว่าผู้กู้เงินมาค้าขายมีความสามารถในการชำระสินเชื่อ ได้ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่กำหนด อีกทั้ง เงินสำรองยังเป็นตัวกำหนดวงเงินของคุณอีกด้วย

จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย

สิ่งที่ผู้กู้เงินมาค้าขายต้องทำคือการจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย อย่างสม่ำเสมอ โดยผู้กู้ควรจะมีบัญชีทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับยอดขาย ต้นทุน ค่าใช้จ่าย การสต๊อกสินค้า ฯลฯ เพื่อใช้เป็นหลักฐานให้ธนาคารตรวจสอบว่าเรามีแหล่งรายรับ – รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังเพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจที่ธนาคารจะใช้พิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ

บอกเล่าแผนธุรกิจของร้านให้น่าสนใจ

เนื่องจากคุณจะต้องไปขอกู้เงินมาค้าขาย ดังนั้นการที่ทางธนาคารจะอนุมัติหรือไม่นั้น ก็จะพิจารณาจากความน่าสนใจของธุรกิจร้านค้าที่คุณทำ ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่จะดำเนินธุรกิจไปและได้กำไรเป็นกอบเป็นกำขึ้นมา ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่ทางธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อเงินกู้ให้กับคุณ

ดังนั้น สิ่งที่คุณควรทำคือการเตรียมตัว ทำการบ้านให้ดี ๆ ศึกษาเรื่องทำเลการเปิดร้าน ต้นทุนการผลิต รวมไปถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และบอกเล่าได้ว่าร้านค้านี้จะทำกำไรให้คุณมากน้อยแค่ไหน พยายามนำเสนอให้ชัดเจนและตั้งใจ

เน้นขอสินเชื่อที่เหมาะสมกับตัวเอง

การที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อเงินกู้ให้คุณหรือไม่นั้น สิ่งสำคัญอย่างการขอสินเชื่อที่เหมาะกับตัวเองก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะสินเชื่อที่เหมาะสมกับเราตัวเราเป็นการประเมินความสามารถในการชำระหนี้แก้ธนาคารนั่นเอง ซึ่งพิจารณาได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นรายได้ ภาระหนี้สิน ค่าใช้จ่าย ฯลฯ ดังนั้น ก่อนที่คุณจะกู้เงินมาค้าขาย อย่าลืมที่จะศึกษา เรียนรู้ รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวสินเชื่อประเภทต่าง ๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

พร้อมเช็กสุขภาพการเงินของตัวคุณเองว่าคุณมีความสามารถในการชำระหนี้ได้มากน้อยเพียงใด จากนั้นพิจารณารายละเอียดสินเชื่ออย่าง อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาในการผ่อนชำระ รวมถึงเงื่อนไขอื่น ๆ ซึ่งแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป

ท้ายที่สุดแล้ว แม้ว่าจะเป็นเพียงร้านค้าเล็ก ๆ แต่ก็สามารถกู้เงินมาค้าขายได้ไม่ต่างจากอาชีพอื่น ๆ เพียงแต่สิ่งสำคัญที่คุณควรตระหนักเอาไว้คือ ความมีวินัยในการบริหารจัดการหนี้ให้สามารถดำเนินชำระหนี้ให้แก่ธนาคารได้อย่างไม่มีสะดุด ฉะนั้น อย่าลืมที่จะลองทำตามเคล็ดลับที่เรานำมาฝากกันทีละขั้นตอน และพยายามสร้างความเชื่อถือให้กับเครดิตของตัวเองให้มาก ๆ เพราะทุกอย่างล้วนส่งผลต่อการอนุมัติเงินกู้

Jirapa Sawatanan

Creative & Content creator ประสบการณ์เขียนบทความเกี่ยวกับการเงินและหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง 2 ปี Linkedin
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments