You are currently viewing กู้เงินตกแต่งบ้าน ผ่านยากหรือไม่ เลือกแบงค์อย่างไรดี?

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเราซื้อบ้านมา บ้านที่ได้นั้นมักจะเป็นบ้านเปล่า ๆ ทำให้ต้องตกแต่งบ้านเพิ่มเติม ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการตกแต่งบ้านก็ไม่น้อยเลยค่ะ หลายคนจึงเลือกกู้เงินตกแต่งบ้าน แต่ก็ยังลังเลว่ากู้แล้วจะผ่านยากหรือไม่ แล้วจะมีวิธีในการเลือกแบงค์ในการกู้เงินอย่างไรดี ใครที่กำลังมีปัญหาแบบนี้อยู่ ต้องติดตามบทความนี้ให้ดี ๆ

ประเภทสินเชื่อกู้เงินตกแต่งบ้าน

การกู้เงินตกแต่งบ้านจะผ่านยากหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อ ซึ่งเราจะต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับสินเชื่อแต่ละประเภท โดยเลือกให้เหมาะสมกับตัวเองให้มากที่สุด ซึ่งประเภทสินเชื่อกู้เงินตกแต่งบ้านมีมากมาย  ดังนี้

สินเชื่อส่วนบุคคล + สินเชื่อบ้าน

เราสามารถใช้สินเชื่อส่วนบุคคลร่วมกับสินเชื่อบ้านในการกู้เงินตกแต่งบ้าน ซึ่งใครที่กำลังผ่อนชำระบ้านกับธนาคาร สามารถที่จะกู้เงินเพิ่มได้โดยขอกู้จากธนาคารที่เรากำลังผ่อนชำระหนี้บ้านอยู่นั่นเอง สินเชื่อประเภทนี้จะผ่านได้ง่ายกับผู้ที่มีพันธะหนี้สินบ้านกับทางธนาคารนั่นเอง

สินเชื่อส่วนบุคคล + สินเชื่อบ้านแลกเงิน

สินเชื่อที่ใช้กู้เงินตกแต่งบ้านถัดมา เป็นสินเชื่อที่ต้องใช้หลักทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ในการค้ำประกัน เช่น บ้าน คอนโดฯ ที่ดิน โดยอสังหาริมทรัพย์นั้นจะต้องปลอดหนี้แล้วจึงจะนำมาค้ำประกันได้ หากเกณฑ์ของผู้กู้เข้ากับทุกหลักเกณฑ์ ก็จะสามารถผ่านได้อย่างง่าย ๆ และยังได้วงเงินกู้ที่สูงอีกด้วย

สินเชื่อส่วนบุคคลแบบไม่มีหลักประกัน

สำหรับการกู้เงินตกแต่งบ้านด้วยสินเชื่อประเภทนี้ เป็นสินเชื่อที่ของ่ายที่สุด เพราะผู้กู้ไม่ต้องใช้หลักประกันใด ๆ เลย แต่ธนาคารจะกำหนดวงเงินสูงสุดที่อนุมัติตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้กู้ โดยมากอยู่ที่ 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน นั่นหมายความว่าผู้กู้จะได้วงเงินมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับรายได้ของผู้กู้

สินเชื่อส่วนบุคคลแบบใช้เงินฝากค้ำประกัน

เราอาจจะเคยได้ยินสินเชื่อแบบนี้กันมาบ้าง ซึ่งสามารถใช้กู้เงินตกแต่งบ้าน ได้เหมือนสินเชื่อประเภทอื่น ๆ โดยใช้เงินในบัญชีออมทรัพย์หรือฝากประจำในการค้ำประกัน โดยเป็นบัญชีของเราเองหรือผู้ที่ยินยอมให้เราใช้บัญชีของบุคคลนั้นในการค้ำประกัน แต่มีเงื่อนไขว่า ห้ามถอนเงินฝากในบัญชีจนกว่าจะชำระหนี้ครบ

สินเชื่อส่วนบุคคล + รถแลกเงิน

นอกจากคุณจะใช้บ้านแลกเงินในการกู้เงินตกแต่งบ้าน ยังสามารถใช้รถแลกเงินได้ด้วยเช่นกัน แม้ว่าดอกเบี้ยจะสูงกว่าการกู้เงินโดยใช้บ้านเป็นสินทรัพย์ (ดอกเบี้ยประมาณ 7% ต่อปี ซึ่งจะมีลักษณะไม่ลดต้นลดดอก) แต่ไม่มากไปกว่าสินเชื่อบัตรกดเงินสด แต่ก็ถือว่าเป็นสินเชื่อที่ได้วงเงินสูงกว่าสินเชื่ออีกหลาย ๆ ประเภท

สินเชื่อส่วนบุคคล + สินเชื่อบัตรกดเงินสด

คนที่ขาดเครดิตในการกู้เงินตกแต่งบ้าน ซึ่งสินเชื่อบัตรกดเงินสดก็ทำให้คุณสามารถกู้เงินได้เช่นกัน แต่อันที่จริง เราไม่แนะนำให้คุณกู้เงินในระยะยาวโดยการใช้บัตรกดเงินสด เนื่องจากมีอัตราดอกเบี้ยสูงมาก ซึ่งหากคุณเดือดร้อนเงินเพียงชั่วคราว บัตรกดเงินสดเป็นตัวเลือกที่ดีค่ะ แต่คุณจะต้องมั่นใจว่าตัวคุณจะสามารถหาเงินมาปิดหนี้ได้เร็ว โดยสินเชื่อแบบนี้จะผ่านได้เร็วและสะดวกมาก ๆ

เลือกธนาคารอย่างไรดี เมื่อต้องกู้เงินตกแต่งบ้าน

การเลือกธนาคารสำหรับกู้เงินตกแต่งบ้านนั้น มีเกณฑ์คล้าย ๆ กับการเลือกสินเชื่อเลยค่ะ โดยหลัก ๆ เราจะเลือกที่เหมาะสมกับตัวเองและเงื่อนไขของตัวคุณเอง จึงสรุปวิธีเลือกธนาคารสำหรับกู้เงินได้ดังนี้

พิจารณาธนาคารที่เคยให้เงินกู้มาก่อน

บางคนที่ยังมีภาระในการผ่อนชำระบ้าน สามารถขอกู้เงินตกแต่งบ้านเพิ่มเติมได้จากธนาคารที่ปล่อยเงินกู้บ้านให้กับคุณได้ค่ะ โอกาสที่จะได้รับการอนุมัติมีสูงมาก

พิจารณาจากอัตราดอกเบี้ย

แม้ว่าการกู้เงินตกแต่งบ้านส่วนใหญ่มักจะเป็นความต้องการใช้เงินในระยะสั้น แต่เรื่องของอัตราดอกเบี้ยก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบแต่ละธนาคารอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้กระทบกับสภาวะการเงินของตัวคุณเองในอนาคต ไม่ควรเลือกดอกเบี้ยที่สูงเกินไปนักเพราะไม่คุ้มค่ากับช่วงเวลาในการผ่อนชำระ

พิจารณาระยะเวลาในการผ่อนชำระ

ระยะเวลาในการผ่อนชำระในการกู้เงินตกแต่งบ้าน โดยทั่วไปสินเชื่อจะให้ระยะเวลาในการผ่อนชำระอยู่ที่ 5 ปี แต่ในบางธนาคารอาจจะให้ระยะเวลาที่มากกว่านั้นก็ได้ การกู้เงินตกแต่งบ้านส่วนใหญ่จะเป็นการดำเนินการในระยะสั้น ซึ่ง 5 ปี ก็ถือว่าเป็นช่วงเวลากำลังดีและเหมาะสมที่จะวางแผนการเงินในการผ่อนชำระ

กล่าวโดยสรุปแล้ว การกู้เงินตกแต่งบ้านผ่านยากหรือง่ายนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อด้วยค่ะ ซึ่งสิ้นเชื่อที่แนะนำคือสินเชื่อส่วนบุคคลแบบบ้านแลกเงิน เนื่องจากได้วงเงินสูง ผ่อนได้ถูก และเสียดอกเบี้ยน้อย ส่วนการเลือกธนาคารก็พิจารณาหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการเลือกสินเชื่อ เน้นอัตราดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลากำลังดี ที่สำคัญอย่าลืมที่จะศึกษาเงื่อนไขโดยเฉพาะของแต่ละธนาคารด้วยนะคะ

Jirapa Sawatanan

Creative & Content creator ประสบการณ์เขียนบทความเกี่ยวกับการเงินและหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง 2 ปี Linkedin
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments